โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon footprint for Organization: CFO)
- บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จึงได้เข้าร่วมดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้การรับรองโครงการจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรซึ่งนำไปสู่การพิจารณาหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร
- การรับรองโครงการ: บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้รับการรับรองโครงการ ครั้งที่ 7 วันที่ 28 สิงหาคม 2567 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
- หน่วยงานการทวนสอบโครงการ: หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
- คุณเนาวรัตน์ วิทูรปกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด รับมอบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 11 องค์กรนำร่องที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว บริษัทฯ ร่วมกิจกรรมชดเชยคาร์บอนขององค์กร ปริมาณ 650 tCO2eq
- การรับรองโครงการ: บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้รับประกาศเกียรติคุณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567
- หน่วยงานที่ปรึกษาโครงการ: บริษัท อีซีอีอี จำกัด
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG Economy Model สู่ Net Zero
- คุณเนาวรัตน์ วิทูรปกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “BEST BCG ECONOMY MODEL” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 องค์กรนำร่องที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG ECONOMY MODEL สู่ NET ZERO จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว บริษัทฯ ผ่านการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (CE-CFP) ของผลิตภัณฑ์ Aeroacrostic-SP ฉนวนกันความร้อนชนิดติดผนังและหลังคา ร่วมทั้งผลิตภัณฑ์ Protape เทปยางสังเคราะห์ป้องกันรอยขูดขีดและซ่อมแซมผิวฉนวน
- การรับรองโครงการ: บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้รับประกาศเกียรติคุณ วันที่ 22 สิงหาคม 2567
- หน่วยงานที่ปรึกษาโครงการ: บริษัท วีกรีน เคยู จำกัด
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (Green Industry: GI 4)
- คุณอนันท์ โรจนเมธินทร์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน
บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด รับมอบโล่รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปี 2567 “ก้าวสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน..คู่ไปกับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว” จากกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทฯ เป็น 1 ในองค์กรที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 (Green Industry: GI 4) - การรับรองโครงการ: บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้รับโล่รางวัล วันที่ 23 กันยายน 2567
โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO Factory)
- คุณอนันท์ โรจนเมธินทร์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน
บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด รับมอบโล่รางวัลโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO Factory) “Eco Innovation Forum 2024 Now Thailand : Sustainable Future ลงทุนในประเทศไทยเพื่ออนาคต” ประจำปี 2567 จากสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ ได้รับรางวัลโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 - การรับรองโครงการ: บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด ได้รับโล่รางวัล วันที่ 23 กันยายน 2567
Carbon Neutral Event กิจกรรมพิธีมอบทุนการศึกษาบุตรพนักงาน รางวัลอายุงาน รางวัลปฎิบัติงานสม่ำเสมอ AFCR ระยอง ประจำปี 2567
- บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดงานพิธีมอบทุนการศึกษาบุตรพนักงาน รางวัลอายุงาน รางวัลปฎิบัติงานสม่ำเสมอ AFCR ระยอง ประจำปี 2567 โดยเน้นการดำเนินงานใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ทุกขั้นตอนได้มีการวางแผนเก็บข้อมูล แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการฯ แก่ผู้ร่วมงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนในกิจกรรม เพื่อให้เกิดการก่อคาร์บอนให้น้อยที่สุด ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ทำการชดเชยคาร์บอนเครดิตปริมาณ 5 tCO2eq
- การรับรองโครงการ: 21 มิถุนายน 2567
- หน่วยงานทวนสอบโครงการ: บริษัท อีซีอีอี จำกัด
Carbon Neutral Event กิจกรรม FUTURE OF AEROFLEX
- บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัด คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดงาน FUTURE OF AEROFLEX โดยเน้นการดำเนินงานใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ทุกขั้นตอนได้มีการวางแผนเก็บข้อมูล แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการฯ แก่ผู้ร่วมงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนในกิจกรรม เพื่อให้เกิดการก่อคาร์บอนให้น้อยที่สุด ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ทำการชดเชยคาร์บอนเครดิตปริมาณ 3 tCO2eq
- การรับรองโครงการ: 28 สิงหาคม 2567
- หน่วยงานทวนสอบโครงการ: บริษัท อีซีอีอี จำกัด