Closed cell epdm insulation for hvac & r
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

กรณีศึกษาปัญหาน้ำขังระหว่างฉนวนยางและท่อนำความเย็น

จากกรณีตัวอย่างที่มีภาพน้ำขังอยู่ระหว่างฉนวนยางและท่อนำความเย็นในโครงการแห่งหนึ่ง (ดังภาพประกอบ) เป็นภาพที่น่าสนใจมาก  เนื่องจากโอกาสที่จะได้เห็นภาพลักษณะเช่นนี้น้อยมาก จึงมีการระดมความคิดจากนักวิชาการ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ที่มีมากว่า 30 ปี ในฐานะผู้ชำนาญการทางด้านฉนวน มีการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ต้นเหตุและปัญหากรณีที่เกิดขึ้นในเชิงวิชาการ ดังต่อไปนี้

  1. สภาพของฉนวนยาง
  • สภาพฉนวนยางภายนอกทั่วไป

ลักษณะภาพตามรูปที่ 1 สภาพภายนอกของฉนวนยางที่มีอายุการใช้งานมานาน ไม่มีการยุบตัว ไม่มีเชื้อรา ไม่มีหยดน้ำบนผิวฉนวน จัดได้ว่ามีสภาพดีมาก ยังคงมีคุณสมบัติดีเช่นเดิม เพียงแต่ว่าจะเห็นมีบางบริเวณตกเป็นท้องช้าง

รูปที่ 1 แสดงฉนวนยางที่มีอายุการใช้งานนาน

  • ฉนวนยางบริเวณตกท้องช้าง

ลักษณะภาพตามรูปที่ 2 ขณะที่ช่างใช้มีดกรีดฉนวนยางบริเวณที่ตกท้องช้าง จะมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหล

ออกมา จากนั้นจึงกรีดฉนวนยางเพื่อให้น้ำไหลออกมาให้มากที่สุด ดังรูปที่ 3

รูปที่ 2 แสดงน้ำที่ขังอยู่ระหว่างท่อและฉนวนยาง

รูปที่ 3 แสดงน้ำที่ขังอยู่ระหว่างท่อและฉนวนยาง

 

  • สภาพฉนวนยางและท่อน้ำเย็นหลังรื้อออก

ลักษณะภาพตามรูปที่ 4 หลังจากรื้อฉนวนยางออก  พบว่าฉนวนยางยังมีสภาพดี แม้จะอุ้มน้ำอยู่เป็นเวลานานมาก  ส่วนท่อน้ำเย็นที่เป็นท่อเหล็กทาสีกันสนิมนั้นเป็นสนิมซึ่งมีสาเหตุมาจากน้ำที่ขังระหว่างฉนวนยางกับท่อเหล็ก

รูปที่ 4 แสดงผิวท่อเป็นสนิมจากการมีน้ำขังอยู่นานๆ

  1.   วิเคราะห์สาเหตุและการแก้ไข

2.1  วิเคราะห์สาเหตุ

น้ำจำนวนมากขังระหว่างฉนวนยางกับท่อน้ำเย็น คาดว่าน่าจะมีสาเหตุดังนี้

1 .เกิดจากความชื้นที่แทรกตัวเข้าไประหว่างรอยต่อที่ติดไม่สนิทหรือเป็นบริเวณที่ปิดไม่ได้ทั้งหมดเช่น วาล์ว จุดวัดอุณหภูมิ และอื่นๆ น้ำจะไหลเข้าไปแล้วไปรวมกันในบริเวณที่ต่ำสุด เมื่อมีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดลักษณะตกท้องช้างมองเห็นได้ชัดเจน

  1. น้ำซึมออกมาจากรอยตามดที่ท่อเหล็กหรือรอยเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์ในช่วงแรกของการใช้งานน้ำซึมออก

จากตามดหรือรอยรั่วจากท่อน้ำเย็นทีละน้อยแล้วค่อยๆ สะสมเป็นเวลานานทำให้น้ำมีปริมาณมากจนให้เกิดลักษณะตกท้องช้าง

จากสาเหตุทั้งสองข้อ คาดว่าน่าจะมาจากสาเหตุในข้อ 2 คือมาจากท่อเหล็กมีตามดหรือรอยเชื่อมไม่สมบูรณ์ จากประสบการณ์เรื่องปัญหาน้ำขังในท่อฉนวนยาง 2 แห่งที่เคยเกิดขึ้นเป็นกรณีศึกษาคือที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ภาคใต้ของประเทศไทยและที่สนามบินดอนเมืองเป็นช่วงท่อ สั้นๆ ประมาณ 10 เมตร   หลังตรวจสอบพบว่าเกิดการรั่วซึมของรอยเชื่อมของท่อเหล็กที่ไม่สมบูรณ์หรือรั่วซึมจากท่อที่มีตา มดเล็ก ๆ เมื่อ ใช้ท่อน้ำเย็นภายใต้แรงดัน ทำให้น้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา ส่งผลให้ฉนวนอุ้มน้ำไว้ตลอด และตกเป็นท้องช้างเมื่อใช้ มีดกรีดจะมีน้ำไหลออกมาเช่นเดียวกับรูปที่ 2-3 แม้ว่าได้ทำการเปลี่ยนฉนวนก็ยังคงพบปัญหาเดิม คือน้ำขังเป็นท้องช้าง (กรณีที่จุดรั่วใหญ่ขึ้น )

2.2  การแก้ไข

การตรวจสอบท่อเหล็ก

  1. ความชื้นที่แทรกตัวเข้าไปในระหว่างรอยต่อที่ไม่สนิท แก้ไขโดยปิดรอยต่อให้สนิทหรือหุ้มฉนวนให้หมดไม่ให้น้ำไหลเข้าไปได้
  2. ในกรณีเกิดจากท่อเหล็กที่มีตามดหรือรอยเชื่อมไม่สมบูรณ์แก้ไขโดยเช็คหาจุดรั่วแล้วเปลี่ยนท่อหรือเชื่อมเพื่อไม่ให้รั่วซึม แล้วหุ้มด้วยฉนวนยางชนิดเซลล์ปิด

2.3  ทำไมฉนวนยางยังอยู่ในสภาพดี

  1. ฉนวนยาง ที่มีการติดตั้งและเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับงานระบบ เป็นฉนวนชนิดเซลล์ปิด Closed Cell Elastomeric Insulation ที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถกักเก็บน้ำได้ดี จึงมีความสามารถในการ ป้องกันการแทรกซึมความชื้น และการแทรกซึมน้ำเป็นอย่างดีโดยไม่เกิดการรั่วซึมออกมาภายนอก แม้ว่า ต้องอุ้มน้ำเป็นเวลาหลายปี(ดังรูปที่1)
  2. ฉนวนยาง ผลิตจากยาง สังเคราะห์ EPDM ที่ไม่มีขั้ว (Non polar) ซี่งมีคุณสมบัติ

ทำปฎิกิริยา กับน้ำน้อยมาก จึงมีสภาพความคงทนสูงสุด ซึ่งผิดกับฉนวนชนิด Open Cell เช่น Fiber glass หรือ Semi open cell เช่น Polyurethane  Foam ที่ไม่สามารถอุ้มน้ำที่เกิดจากการควบแน่นภายใน  (Internal condensation ได้ และไม่สามารถอุ้มน้ำที่เกิดจากตามดเล็กๆ ที่ผิวท่อเหล็กได้ ขณะเดียวกันยังทำปฏิกิริยาท่อเหล็กจนเกิดความเสียหายกับท่อ

2.4   ใช้ฉนวน  Pre –Insulated เหมาะสมหรือไม่  มีการวิเคราะห์ ดังนี้

  1. ค่าดูดซึมน้ำสูง

ลักษณะภาพตามรูปที่ 5 ซึ่งเป็นการติดตั้งฉนวนโดยวิธี pre insulated system ซึ่งมี polyurethane foam เป็นส่วนประกอบ กรณีที่ใช้การฉีดโฟม เข้าไปในท่อที่ติดตั้งไว้แล้วโดยไม่ได้แก้ไขจุดรั่วนั้น ในระยะเวลาอันสั้นจะเกิดปัญหารุนแรงกว่าเดิม เพราะการรั่วของน้ำเย็น (cooling water)จะแทรกซึมไปทุกจุดได้ง่าย เนื่องจากสภาพทั้งเซลล์เปิดหรือเซลล์กึ่งเปิด(Polyurethane foam)ชนิดฉีดที่มีค่าความหนาแน่น(Density) 20-30 Kg/m3 มีอัตราการดูดซึมน้ำสูงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ขณะที่ฉนวนชนิด Polyurethane foam ที่มี density 50-60 Kg/m3 นั้นก็มีอัตราการดูดซึมน้ำประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเช่นกัน ซึ่งการที่มีค่าการดูดซึมน้ำสูง ทำให้น้ำเข้าไปแทรกตัวอยู่ในเนื้อฉนวน ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน thermal conductivity ( K value ) สูงตามไปด้วย

หมายเหตุ K value ของ PU ประมาณ 0.035 W/m.K และค่า K value ของน้ำเท่ากับ 0.6 W/m.K )

รูปที่ 5 แสดงการติดตั้งฉนวนโดยวิธี pre insulated system

  1. เกิดการกัดกร่อนที่ท่อเหล็ก

โพลียูลีเทนโฟม(Polyurethane foam) ที่มี Isocyanate เป็นโครงสร้างหลัก เมื่อเกิดการควบแน่นที่ฉนวน( condense )สารเคมีที่อยู่ใน Polyurethane  จะออกมาปนกับน้ำที่มาจากการควบแน่น เมื่อสัมผัสกับผิวท่อเหล็กทำให้เกิดการกัดกร่อนในระดับสูง และทำให้ท่อเสียหายได้ ซึ่งปัจจุบันหลายโครงการในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ ที่มีการใช้ Pre –Insulated Pipe ที่เป็นPolyurethane foam ก็พบปัญหาว่า ท่อมีอายุการใช้งานสั้นจากรอยเชื่อมหรือรอยรั่วของท่อเหล็กที่ใช้

  1.    เกิดสารพิษหรือก๊าซพิษเมื่อเผาไหม้

ฉนวน Polyurethane foam ที่มีความหนาแน่นต่ำประมาณ 30-60 Kg/m3 นั้น มีอัตราการติดไฟ และลามไฟสูงมาก ถ้ามีปริมาณสารพิษถึง 280 PPM ทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลัน (Immediately Fatal) ตามข้อมูลจากหนังสือ Applied Rubber Technology และปริมาณควันที่เกิดจากการลามไฟ เป็นควันที่มีสารพิษสูง โดยเฉพาะ Hydrogen cyanide ( HCN )

ในปี 2007 ประเทศไทยมีโครงการหนึ่งที่เกิดเพลิงไหม้ เนื่องจากระหว่างการเชื่อมมีลูกไฟหยดใส่ผนังกั้นห้อง Sandwich Panel ซึ่งเป็นเซลล์กึ่งเปิดที่เป็น Polyurethane foam ทำให้มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายหลายร้อยล้านบาท ได้มีการสำรวจและแก้ไขระบบท่อลมที่เสียหาย พบว่ามีอุปกรณ์   Stainless ต่างๆ ภายในห้องเย็นดังกล่าวเสียหายและต้องเปลี่ยนใหม่ โดยมีการขึ้นสนิมจากควันไฟของPolyurethane foam ที่เกิดการเผาไหม้  แต่ฉนวนยาง ที่อยู่ภายในโครงการไม่เกิดการเสียหาย สามารถคงใช้ต่อไปได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน

 

ในปี 2008 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่สโมสรเต้นรำ Wuwang Club ในเมืองเซินเจิ้น (Shenzhen)  เนื่องจากมีการใช้  polyurethane foam เป็นฉนวนและตกแต่งภายในเป็นจำนวนมาก หลังจากเพลิงไหม้เกิดขึ้นเพียง 46 วินาที ควันพิษได้กระจายปกคลุมไปทั่วทั้งตึก ทำให้มีคนเสียชีวิตทันที  43  คน  เพราะสูดดมควันพิษเข้าไปมีผู้บาดเจ็บ 88 คน เหตุการณ์ครั้งนี้ผู้คนไม่ได้เสียชีวิตเพราะเพลิงไหม้  แต่เป็นเพราะสูดดมควันพิษจากการเผาไหม้และขาดอากาศหายใจ ซึ่งเป็นก๊าซโฮโดนเจนไซยาไนด์ ( Hydrogen Cyanide) จากการใช้ Polyurethane Foam เป็นฉนวน (ดังรูปที่ 6)

รูปที่ 6  Shenzhen Wuwang Nightclub

ในปี 2009 เกิดเพลิงไหม้ที่ปักกิ่ง (Beijing )ที่ อาคารใหม่ ของตึก CCTV ( China CentralTelevision Complex )  โดยเพลิงไหม้เกิดที่ Insulation panel ที่เป็น polyurethane foam เกิดการเผาไหม้ ไฟได้ลุกลามตามฉนวนที่ติดตั้งในตึกไปอย่างรวดเร็วและให้ควันพิษจำนวนมาก  นักดับเพลิงเสียชีวิต 1 คน อีก 8 คนบาดเจ็บ  เหตุการณ์นี้เป็นอัคคีภัยที่ไฟได้ลุกลามอย่างรวดเร็วและร้ายแรงที่สุดใประวัติศาสตร์จีนปัจจุบัน

CCTV Building

ในปี 2010 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เกิดอัคคีภัยใหญ่ ที่คอนโดมิเนียม 28 ชั้น(ในเมืองเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ประเทศจีน  โดยใช้ Rigid Polyurethane Foam เป็นฉนวนกั้นในอาคาร และติดตั้งอยู่เป็นผนังภายนอก  เมื่อเกิดเพลิงไหม้  Polyurethane Foam ติดไฟ และลามไฟเร็วมาก เกิดกลุ่มควันพิษหนามาก มีผู้เสียชีวิต 53 คน จากการสำลักควันพิษ และในปีเดียวกันคือปี 2010 เกิดอัคคีภัยขึ้นอีก 2 ครั้งที่ศูนย์กีฬาเมืองจี่หนานมีผู้เสียชีวิต 9 คน  และยังเกิดอัคคีภัยในโรงแรม 5 ดาวเซินหยาวหวางเฉา ซึ่งในอาคารดังกล่าว มีการติดตั้ง Polyurethane Foam ทั้งสิ้น

 

Wang Zhenghua (China Daily)   Updated: 2010-11-19 07:20

The flames may have been extinguished, but anger over the fatal blaze at a Shanghai high-rise is still raging in the hearts of the victims’ families and friends.

For a city renowned for its urban achievements, the question on the lips of horrified residents and those who escaped the burning 28-story tower is: “How could this happen?”

Police have already taken eight people into custody, including four unlicensed welders who were working on the building when the fire started.

The detentions came after experts on the investigation team sent by the State Council blamed the disaster on illegal practices, such as multi-layered subcontracting, and lax government supervision.

However, none of the statements so far released have dispelled suspicion among the public that corruption also played a significant part.

Monday’s blaze in Jing’an district started during renovation work to improve the building’s energy efficiency.

At least 53 people were killed, with another 36 people still missing.

Sixteen of the 71 people hospitalized are in critical condition.

 

Onlookers watch as flames engulf a residential block in downtown Shanghai, killing 53 people and injuring 71 others. The blaze raged for almost five hours on Monday before firefighters were able to bring it under control. Provided to China Daily

 

Fire rescue workers carry a survivor from the blaze in a residential tower block in Shanghai’s Jing’an district. Yong Kai / for China Daily

 

ปัจจุบันหลังเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศจีน  ทั้งที่ Beijing  CCTV  building ,Jinan Olympics sport center ,Harbin ”latitude and longitude  360 degrees, Twin tower ,อาคารที่พักอาศัยที่ฉางชุน และที่อูรูมู่ฉี  ที่โรงแรม paramount  ในช่วงมีงาน Shanghai world expo และอาคารที่พักอาศัยที่เมือง Xuchang  ทำให้มีบางจังหวัดในประเทศจีน ห้ามใช้ฉนวน  Polyurethane เช่นที่Zhejiang  ทำให้ผู้ดูแลความปลอดภัยด้านการผลิตในส่วนของภาครัฐ และกระทรวงที่ดูแลความปลอดภัยสาธารณะที่ประเทศจีน ได้มีการประชุมว่า การเกิดเพลิงไหม้หลายแห่งมาจาก polyurethane foam เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งที่ติดไฟเร็วมาก และอยู่ระหว่างพิจารณาว่าอาจจะมีการห้ามใช้ polyurethane foam ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างทั้งในการใช้เป็นฉนวนภายนอกและภายในอาคาร และอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพิ่มระดับ และแก้ไข ข้อกำหนดเฉพาะ ของวัสดุที่เป็นฉนวนสำหรับอาคาร เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานแห่งชาติ ตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน( transition period) สำหรับมาตรฐานใหม่ GB 8624:2006 เพื่อปรับให้เป็น class B ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน จะมีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรม การผลิต Polyurethane ทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

 

  1. อายุการใช้งานจำกัด

ในประเทศที่เจริญแล้วหลายๆประเทศ ไม่อนุญาตให้ใช้โพลียูรีเทน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ดังเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นในหลายสถานที่ในประเทศจีน ทั้งในเมืองฉางชุน อูลูมู่ฉี เทียนจิน ซึ่งมีการใช้โพลียูรีเทนสำหรับผนังภายนอกอาคาร และได้ผุพังตกลงมาทำให้โรงรถ ตู้ไฟฟ้า และรถยนต์เสียหาย   ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้พบเห็นได้บ่อยครั้ง จากอายุการใช้งานที่มีจำกัด จึงไม่ได้ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงาน ซึ่งสิ่งก่อสร้างอาคารตึกมีอายุการใช้งานเป็นร้อยปีหรือมากกว่านั้น ตามทฤษฎีผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าโพลียูรีเทนโฟมที่ติดตั้งอยู่บนผนังภายนอกจะใช้งานได้ประมาณ 20 ปี แต่ถ้าใช้จริงประมาณ 8 -10 ปี ก็จะเกิดการเสียรูป แตกร้าว และผุพัง

    

  1. บทสรุป

กรณีศึกษาปัญหาน้ำจำนวนมากขังอยู่ระหว่างฉนวนยางและท่อนำความเย็นนั้น คาดว่ามีสาเหตุจากการรั่วซึมของท่อเหล็ก แก้ไขโดยซ่อมหรือเปลี่ยนท่อในบริเวณดังกล่าว และควรใช้ฉนวนยางเซลล์ปิดที่มีความคงทนต่อน้ำและ ความชื้นได้เป็นอย่างดี  ซึ่งสามารถพิสูจน์แล้วว่ายังคงสภาพดีแม้จะอุ้มน้ำเป็นเวลานาน ถ้าเป็นฉนวนเซลล์เปิดอย่างเช่นฉนวนใยแก้ว หรือเซลล์กึ่งเปิดอย่างเช่น โพลียูรีเทนโฟม โพลีเอทธิลีน ถ้ามีการรั่วซึมน้ำจากกรณีดังกล่าวแล้ว ฉนวนจะเสียสภาพอย่างรวดเร็ว ค่าความเป็นฉนวนเสื่อมลงเป็นอย่างมาก รวมทั้งเมื่อเปียกแฉะ ยังมีสารที่กัดกร่อนท่อเหล็กเสียหายมากกว่าฉนวนเซลล์ปิด

ภาคผนวก

เอกสารแนบที่ 1  ข้อเสนอไม่ส่งเสริมการใช้โพรียูรีเทนโฟมสำหรับฉนวนภายนอกซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอัคคีภัยของนาย จงลี่ฉง สมาชิกการประชุมปรึกษาสภาการเมืองของประเทศจีน CPPCC (Chinese People’s Political Consultative Conference)

(แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ และเป็นภาษาไทย)

 

การใช้โพลียูรีเทนโฟมสำหรับฉนวนผนังภายนอกซึ่งก่อให้เกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรง ได้ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก  อย่างเช่น อัคคีภัยที่อาคารใหม่ของตึกCCTV  อัคคีภัย 2 ครั้งที่ศูนย์กีฬาเมืองจี่นาน  อัคคีภัยใหญ่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้11.15 (เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน)  อัคคีภัยที่โรงแรม 5 ดาวเซินหยางหวางเฉา  ซึ่งท่านรองเลขาธิการกระทรวงรักษาความปลอดภัยสาธารณะ นายจูซ่าวพิง ชี้แจงว่าสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอัคคีภัยเหล่านี้มาจากการใช้โพลียูรีเทนโฟมที่ง่ายต่อการติดไฟ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2001 กระทรวงการก่อสร้างได้ออกคำสั่งดำเนินการเกี่ยวกับ <<มาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีฤดูร้อนที่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็นมาก>> ได้บังคับให้ใช้ฉนวนกันความร้อนผนังภายนอกอาคารที่พักอาศัย  และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2007 การดำเนินงานของ <<การควบคุมตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการก่อสร้างอาคารเพื่อประหยัดพลังงาน>> ได้กำหนดชัดเจนไว้ว่า อาคารที่ไม่มีฉนวนกันความร้อนผนังภายนอกจะไม่ผ่านมาตรฐานการรับรองตรวจสอบคุณภาพ  นอกจากนี้ มีผู้เชี่ยวชาญเคยอ้างอิงถึงความหนาของชั้นน้ำแข็งในพื้นที่และเสนอไว้ว่า  1. ให้เพิ่มความหนาของผนังภายนอก  2. ให้ใส่ Perlite ในผนังภายนอก  3. ให้ใส่ฉนวนโฟมในผนังภายนอก แต่ทางการก็ยังไม่อนุญาตให้ผ่านมาตรฐานการรับรองสำหรับวิธีการเหล่านี้  สุดท้าย ทางการได้ตัดสินให้สามารถใช้โพลียูรีเทนโฟมสำหรับติดตั้งกับผนังภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

  1. การใช้โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวน ทำให้ติดไฟง่ายและลามไฟเร็วมาก ในเหตุการณ์อัคคีภัยใหญ่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้11.15 (เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน) กระแสลมได้ทำให้ไฟลุกลามตามฉนวนที่ติดตั้งอยู่บนผนังภายนอกอย่างรวดเร็ว  รถดับเพลิงได้ออกปฎิบัติการภายในหนึ่งนาที  หลังจากเดินทางมาถึงจุดหมายก็พบว่า ไฟได้ลุกลามครอบคลุมไปหมดทั้งตึก จึงไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้มากนัก  ส่วนอัคคีภัยที่อาคารใหม่ของตึกCCTV ไฟก็ได้ลุกลามตามฉนวนที่ติดตั้งอยู่ในตึกไปอย่างรวดเร็ว  นับเป็นตัวอย่างของอัคคีภัยที่ไฟได้ลุกลามอย่างรวดเร็วและร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนปัจจุบัน
  2. การใช้โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวน ทำให้เกิดก๊าซพิษจำนวนมากระหว่างการเผาไหม้ ซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ทำให้เสียชีวิตหลังจากสูดดมเข้าไปในร่างกาย และในปี 2008 ได้เกิดอัคคีภัยที่สโมสรเต้นรำในเมืองเซินเจิ้น “9.20” (เมื่อวันที่ 20 กันยายน) เนื่องจากมีการใช้โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนและตกแต่งภายในจำนวนมาก หลังจากไฟไหม้เกิดขึ้นเพียง 46 วินาที  ควันพิษได้แพร่กระจายปกคลุมไปทั่วทั้งตึก  ทำให้มีคนเสียชีวิตทันที 44 คน เพราะสูดดมควันพิษเข้าไป  ที่จริงในเหตุการณ์อัคคีภัยเหล่านี้  ผู้คนไม่ได้เสียชีวิตเพราะโดนไฟไหม้ แต่เป็นเพราะการสูดดมควันพิษและขาดอากาศหายใจ
  3. อายุการใช้งานของโพลียูรีเทนโฟมมีจำกัด

จึงไม่ได้ช่วยให้ประหยัดพลังงานในระยะยาว ซึ่งสิ่งก่อสร้างอาคารตึกมีอายุการใช้งานเป็นร้อยปีหรือมากกว่านั้น ตามทฤษฎี ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าโพลียูรีเทนโฟมที่ติดตั้งอยู่บนผนังภายนอกจะใช้งานได้ประมาณ 20 ปี แต่ถ้าใช้จริงประมาณ 8-10 ปี ก็จะเกิดการเสียรูป แตกร้าว และผุพัง  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2010 โพลียูรีเทนโฟมของอาคารชั้นที่ 8-10 ในเมืองฉางชุน ได้ผุพังและตกลงมาทำให้โรงรถเสียหาย  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2010 โพลียูรีเทนโฟมของผนังอาคารภายนอกในเมืองอูลูมู่ฉี ได้ผุพังและตกลงมาทั้งหมด ทำให้ตู้ไฟฟ้าและรถยนต์เสียหาย 2 คัน  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2010 โพลียูรีเทนโฟมของอาคารชั้นที่ 15-20 ในเมืองเทียนจิน ได้ถูกลมแรงพัดตก ทำให้รถยนต์เสียหายไป 3 คัน  ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้พบเห็นได้บ่อยครั้งไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด  พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็ต้องทำการซ่อมแซมใหม่ด้วยต้นทุนที่สูง  ไม่ได้สอดคล้องกับนโยบายอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และการปล่อยสารคาร์บอนที่ต่ำ

บรรดาประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกาได้ห้ามใช้วัสดุฉนวนกันความร้อนที่ง่ายต่อการติดไฟ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวน 20 รัฐที่ห้ามใช้ฉนวนโพลียูรีเทนโฟม  ประเทศอังกฤษห้ามใช้แผ่นฉนวนสำหรับผนังอาคารภายนอกที่มีความสูง 18 เมตรขึ้นไป  ประเทศเยอรมัน กฎหมายกำหนดชัดเจนว่าห้ามใช้ฉนวนที่เป็นสารอินทรีย์และง่ายต่อการติดไฟกับอาคารที่มีความสูง 22 เมตรขึ้นไป  ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายให้ใช้ฟีโนลิกโฟมที่ยากต่อการติดไฟ เป็นฉนวนมาตรฐานของอาคารตึกสาธารณะทั่วไป  วัสดุที่ติดไฟง่ายกว่าฟีโนลิกโฟม ไม่สามารถนำมาใช้กับอาคารตึกสาธารณะได้  นอกจากนี้ บริษัทประกันภัยในหลายประเทศไม่ให้การคุ้มครองอาคารตึกที่ใช้โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวน

 

โดยคุณนงเยาว์  ศิริวงษ์..

 

Top